หลักสูตร

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ

ประวัติความเป็นมา

         สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ตามโครงสร้างเป็นการบริหารแบบโปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการ) และปัจจุบันได้เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารแบบสาขาวิชาการจัดการ เป็นสาขาวิชาที่มีความหลากหลาย มีการผสมผสานทั้งศาสตร์และศิลป์เขาด้วยกันในลักษณะที่เป็นสหวิทยาการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านความรู้เชิงวิชาการ การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคม

ด้านการศึกษา

ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ คู่คุณธรรม ในความหลากหลายของสาขาวิชา

ด้านการบริการวิชาการ

ให้บริการวิชาการแก่สังคม

ด้านการวิจัย

พัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านการวิจัยและผลงานทางวิชาการ

ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

สืบสานและอนุรักษ์ประเพณีไทย และท้องถิ่น

ปรัชญา

         มุ่งผลิตบัณฑิตให้ความรู้ คู่คุณธรรม นำวิชาการ บูรณาการศาสตร์ด้านการจัดการสร้างสรรค์ประโยชน์สังคม

วิสัยทัศน์

         หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นทรัพยากรที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ที่เน้นพัมนาคนสู่สังคมแห่งความรู้ สร้างความเชี่ยวชาญด้านการบริหารทางธุรกิจบนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม

คุณสมบัติผู้เข้ารับการศึกษา

– สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
– สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา สามารถเทียบโอนรายวิชา
– คุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ทุนการศึกษา

– กองทุนให้กู้ยืมทางการศึกษาทั้งรายเก่า และรายใหม่ (กยศ.)
– กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)
– ทุนประจำปีจากองค์กร มูลนิธิ กองทุน หรือบุคคลให้โดยไม่มีข้อผูกพัน
– ทุนให้เปล่าจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค แบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง

เรียนการจัดการจบแล้วไปทำอะไร

อาชีพรับราชการ

– อาจารย์ในสถาบันการศึกษา
– นักวิชาการ
– เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
– เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล
– เจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุ เจ้าหน้าที่ธุรการ
– เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
– เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อาชีพภาครัฐวิสาหกิจ

– พนักงานในสถาบันการเงิน
– เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
– เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคลหรือฝ่ายทรัพยกรมนุษย์
– เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

บุคลากรภาคเอกชน

– พนักงานขาย
– พนักงานธุรการ
– เจ้าหน้าที่จัดซื้อ
– เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
– เจ้าหน้าที่บริการลูกค้า/ประชาสัมพันธ์

เจ้าของสถานประกอบการ

– อาชีพอิสระ